inter news
อุกกาบาต-ดาวตก คืออะไร อันตรายแค่ไหนต่อมนุษย์ ?
2:19 AM
ภาพจาก Porjai Jaturongkhakun สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม
โดยภายหลังมีนักวิชาการออกมาไขข้อสงสัยตรงกันว่า ลูกไฟดังกล่าวเป็น "อุกกาบาต" มีลักษณะที่ปรากฏโดยเห็นพุ่งเป็นทางยาวและมีความเร็วสูงที่เกิดการลุกไหม้ในบรรยากาศเป็นลูกไฟสว่าง เนื่องจากวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงจะมีพลังงานเยอะ ไฟจึงสว่างและเห็นได้ทั่ว มีขนาดเล็กไม่เป็นอันตราย ขณะที่นายกสมาคมดาราศาสตร์ไทย ให้ข้อมูลว่า เป็นปรากฏการณ์ดาวตกประเภท "ดาวตกระเบิด" ซึ่งหลายคนอาจจะอยากรู้ว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวคืออะไร
กระปุกดอทคอม จึงรวบรวบรวมข้อมูลจากกรณีดังกล่าวมาฝาก ดังนี้
1. อุกกาบาต ดาวตก ผีพุ่งไต้ คืออะไร ต่างกันอย่างไร ?
อุกกาบาต เป็นชิ้นวัตถุแข็ง จำพวกหินกับเหล็ก เกิดจากส่วนหนึ่งของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะและบางส่วนเกิดจากเศษที่แตกหักของดาวหาง โดยวัตถุเหล่านี้ตอนอยู่ในอวกาศเรียกว่า สะเก็ดดาว ต่อมาเมื่อโคจรเข้ามาอยู่ในรัศมีแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้มันถูกดึงดูดลงยังพื้นโลกด้วยความเร็วช่วง 19 ถึง 40 กิโลเมตรต่อวินาที จนเกิดการเสียดสีกับบรรยากาศจนร้อนจัดและหลอมตัวเป็นลูกไฟสว่าง แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
- หากสะเก็ดดาวมีขนาดเล็กถูกเผาไหม้หมด เรียกว่า ดาวตก หรือ ผีพุ่งไต้ (meteoroid)
ส่วนฝนดาวตก (meteor shower) คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดดาวตกจำนวนมากในอัตราที่ถี่กว่าปกติ เกิดจากโลกโคจรฝ่าเข้าไปในธารอุกกาบาต ซึ่งสะเก็ดดาวเหล่านั้นก็จะตกลงสู่บรรยากาศโลกกลายเป็นดาวตก ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์บนโลกเลย
- หากสะเก็ดดาวมีชิ้นส่วนที่สลายตัวไม่หมดตกลงมาถึงพื้นโลก เรียกว่า อุกกาบาต (meteorite) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 3 แบบ คือ
หิน (Stone)
เหล็ก (Iron)
เหล็กปนหิน (Stone-Iron)
2. วิธีสังเกตว่าเป็นอุกกาบาต หรือไม่ ?
โดยปกติลูกอุกกาบาตจะมีลักษณะแปลกจากก้อนหินก้อนอื่น ๆ ดูจากตาเปล่า คือ
- มีสีคล้ำไหม้เกรียมหรืออาจพบรอยริ้วเล็ก ๆ บนหน้า
- มีน้ำหนักมากผิดปกติ เพราะมีส่วนประกอบของเหล็ก ไม่มีรูพรุน
- ดึงดูดแม่เหล็ก
3. อุกกาบาตขนาดใหญ่แค่ไหนถึงจะล้างโลกได้ ?
ขนาดที่เป็นอันตรายถึงขั้นล้างโลกได้ ต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 กิโลเมตรขึ้นไป แต่ส่วนใหญ่อุกกาบาตที่พบมักจะถูกเผาไหม้จนมีขนาดเล็กหรือสลายไปหมดนั่นเอง
4. ทุกวันนี้มีระบบตรวจจับ หรือไม่ อย่างไร
หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรงคือ National Aeronautics and Space Administration หรือ องค์การนาซา โดยมียานสำรวจอวกาศหรือแผนก NASA Spaceguard Survey คอยเฝ้าระวังและตรวจจับวัตถุขนาดใหญ่ก่อนที่มันจะเข้าใกล้โลก
ขอบคุณข้อมูลจาก สมาคมดาราศาสตร์ไทย, เว็บสดร., ชุมชนอินดีเพนซิล , เว็บคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ , เว็บวิชาการธรณีไทย
sourc://http://hilight.kapook.com/view/126103
0 comments